top of page

Metformin ช่วยชะลอการเสื่อมของเอ็นและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่มีอายุ


Metformin ช่วยชะลอการเสื่อมของเอ็นและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่มีอายุ
Metformin ช่วยชะลอการเสื่อมของเอ็นและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่มีอายุ

Metformin เป็นยารักษาโรคเบาหวานทั่วไป ช่วยป้องกันการเสื่อมสภาพของเส้นเอ็น (เนื้อเยื่อเกี่ยวพันระหว่างกล้ามเนื้อและกระดูก) โดยการยับยั้งกระบวนการเสื่อมสภาพของเซลล์ (ความชราภาพ๗) และยับยั้งการอักเสบ


เมตฟอร์มิน (Metformin) ถูกใช้มานานหลายทศวรรษในการรักษาโรคเบาหวาน อย่างไรก็ตาม นักวิจัยหลายคนเพิ่งพบว่า Metformin มีความสามารถในการต่อต้านความแก่ชราได้เป็นอย่างดี จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า เมตฟอร์มินสามารถใช้ เพื่อป้องกันความกังวลเรื่องความชรา และการเสื่อมสภาพของเส้นเอ็น ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่ยึดกล้ามเนื้อเข้ากับกระดูก 


มีการศึกษาจากมหาวิทยาลัยพิตต์สเบิร์กและตีพิมพ์ใน Journal of Orthopaedic Research โดยมุ่งเน้นไปที่หนูแก่ ที่มีเส้นเอ็นเสื่อมสภาพ เนื่องจากการออกกําลังกายและการใช้งานมากเกินไป ทีมวิจัยได้รักษาหนูเหล่านี้ ด้วยเมตฟอร์มินและพบว่า เมตฟอร์มิน ช่วยลดเซลล์ที่เสื่อมสภาพ (ซึ่งเป็นเซลล์ที่มีอายุมาก และหยุดการเจริญเติบโตและการแบ่งตัว) และลดการอักเสบภายในเส้นเอ็น เป็นที่ทราบกันดีว่า เมตฟอร์มิน จะไปยับยั้งโมเลกุลที่ส่งสัญญาณให้เซลล์อักเสบ ที่เรียกว่า HMGB1 (ซึ่งมักจะเพิ่มขึ้นในเส้นเอ็นที่มีอายุมาก)


เมื่อ HMGB1 ลดลงในเส้นเอ็น โดยการรักษาด้วยเมตฟอร์มิน จํานวนเซลล์ต้นกําเนิดจะเพิ่มขึ้นและความสามารถในการเติบโตและการแบ่งตัวได้รับการฟื้นฟู ซึ่งจะทำให้เส้นเอ็นหายได้เร็วขึ้น หลังจากได้รับบาดเจ็บ นอกจากนี้ Zhang และเพื่อนร่วมงานยังพบว่า เมตฟอร์มินส่งผลดีต่อรูปร่างของเซลล์และโครงสร้างคอลลาเจน ให้เหมือนกับหนูที่อายุน้อยกว่า ซึ่งบ่งชี้ว่า เนื้อเยื่อได้รับการฟื้นฟูโดยการรักษาด้วยเมตฟอร์มิน 



“ผลการศึกษาเหล่านี้บ่งชี้ว่า Metformin ออกฤทธิ์ต้านการอักเสบและต่อต้านการเสื่อมสภาพในเส้นเอ็นที่มีอายุ” ทีมวิจัย 


Metformin ช่วยรักษาการเสื่อมสภาพและการอักเสบที่เกิดในเส้นเอ็นที่แก่


นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้หนูแก่อายุ 18 เดือน (เทียบกับคนประมาณ 56 ปี) และพบว่า หนูมีเซลล์ที่เสื่อมสภาพและการอักเสบเพิ่มขึ้นในเส้นเอ็น ซึ่งจะลดลงหลังจากฉีดเมตฟอร์มินได้ 8 สัปดาห์ เนื้อเยื่อที่มีอายุมากจะพบว่า มีทั้งเซลล์ที่เสื่อมสภาพและการอักเสบ ซึ่งถือเป็นลักษณะทั่วไปของเนื้อเยื่อที่มีอายุมากและข้อมูลนี้สนับสนุนบทบาทของเมตฟอร์มินในการรักษาต่อต้านความแก่ชรา นักวิทยาศาสตร์พบว่า ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับขนาดยา ซึ่งหมายความว่า การเพิ่มปริมาณเมตฟอร์มินทําให้เซลล์เสื่อมสภาพและตัวชี้วัดเซลล์อักเสบน้อยลงเรื่อย ๆ



Metformin ช่วยลดเซลล์ที่เสื่อมสภาพ
Metformin ช่วยลดเซลล์ที่เสื่อมสภาพ

Metformin ช่วยลดเซลล์ที่เสื่อมสภาพ (E) หนูสูงอายุจะมีเซลล์เสื่อมสภาพเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งขึ้นกับการส่งสัญญาณ SA-β-gal (เป็นตัวชี้วัดเซลล์ของเซลล์เสื่อมสภาพ) เมื่อเทียบกับหนูหนุ่ม (I) การรักษาด้วย Metformin ในหนูแก่ จะลดจํานวนเซลล์เสื่อมสภาพอย่างมีนัยสําคัญ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับปริมาณ * เมื่อเทียบกับหนูที่ไม่ได้รับเมตฟอร์มิน

 


นักวิทยาศาสตร์เลือกเน้นไปที่ HMGB1 ที่เป็นเป้าหมายที่ออกฤทธิ์ของ metformin ซึ่งส่งผลต่ออายุของเซลล์ เนื่องจากบทบาทที่เป็นตัวเริ่มส่งสัญญานการอักเสบ HMGB1 สามารถเพิ่มการฟื้นตัวของเนื้อเยื่อหรือนําไปสู่การอักเสบและการย่อยสลายที่เพิ่มขึ้น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสถานะโมเลกุล


Zhang และเพื่อนร่วมงานพบว่า ภายในเส้นเอ็นของหนูสูงอายุ, Inflammatory HMGB1 หรือที่เรียกว่า dsHMGB1 จะถูกย้ายตำแหน่งจากตรงกลางของเซลล์ (นิวเคลียส) ไปยังด้านข้าง (ไซโตพลาสซึม) เพื่อเริ่มส่งสัญญาณการอักเสบ แต่ในขณะที่ เส้นเอ็นของหนูหนุ่ม, HMGB1 จะยังอยู่ในนิวเคลียสและส่วนใหญ่ ยังคงอยู่ในสถานะที่ไม่มีการอักเสบและอยู่ในภาวะ pro-proliferative state ที่เรียกว่า frHMGB1  


นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ยังพบว่า ในเส้นเอ็นของหนูหนุ่มที่ frHMGB1 ยังอยู่ในนิวเคลียส, เซลล์ต้นกําเนิดจะเพิ่มจำนวนในอัตราที่เร็วกว่า เซลล์ต้นกําเนิดของเอ็นที่มีอายุถึง 2.6 เท่า นอกจากนี้ เอ็นของหนู่แก่ยังมีเซลล์ต้นกำเนิดน้อยกว่า ซึ่งบ่งชี้ว่า มีการเพิ่มจำนวนที่ลดน้อยลงด้วย


อย่างไรก็ตาม เมื่อหนูแก่ได้รับ metformin, HMGB1 จะลดลงตามปริมาณยาที่ได้รับและจํานวนเซลล์ต้นกําเนิดที่เพิ่มมากขึ้น บ่งบอกถึงการเพิ่มจํานวนเนื้อเยื่อมากขึ้น ซึ่งจะช่วยในการรักษาเนื้อเยื่อและการฟื้นฟู  




Metformin เพิ่ม Nuclear HMGB1 และการเพิ่มจํานวนเซลล์ต้นกําเนิด
Metformin เพิ่ม Nuclear HMGB1 และการเพิ่มจํานวนเซลล์ต้นกําเนิด

Metformin เพิ่ม Nuclear HMGB1 และการเพิ่มจํานวนเซลล์ต้นกําเนิด (I) การรักษาด้วย Metformin เพิ่ม HMGB1 ในนิวเคลียส ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณยาในหนูแก่ และ (R) metformin ยังช่วยเพิ่มจำนวนเซลล์ต้นกําเนิดอย่างมีนัยสําคัญ (ตามที่กําหนดโดย stem cell marker, CD73) ซึ่งบ่งบอกถึงการเพิ่มจํานวนเซลล์ต้นกําเนิดที่เพิ่มขึ้น 



นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ยังพบว่า เส้นเอ็นของหนูแก่ มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเซลล์และเส้นใยคอลลาเจน ที่หลวมกว่า (ซึ่งเป็นโปรตีนโครงสร้าง) ตลอดเส้นเอ็น การรักษาด้วยเมตฟอร์มิน จะเปลี่ยนรูปร่างของเซลล์ให้กลับไปเหมือนกับของหนูหนุ่ม และทําให้เส้นใยคอลลาเจน เรียงเป็นระเบียบมากขึ้น ซึ่งบ่งชี้ว่า เมตฟอร์มิน ช่วยปรับปรุงโครงสร้างของเส้นเอ็นที่แก่ชรา ทําให้เส้นเอ็นกลับมาอ่อนเยาว์อีกครั้ง 



Metformin ช่วยให้คอลลาเจนจัดเรียงเป็นระเบียบมากขึ้นในหนูแก่
Metformin ช่วยให้คอลลาเจนจัดเรียงเป็นระเบียบมากขึ้นในหนูแก่

Metformin ช่วยให้คอลลาเจนจัดเรียงเป็นระเบียบมากขึ้นในหนูแก่ หนูหนุ่ม (G, H) มีเส้นใยคอลลาเจนที่หนาแน่นและเป็นระเบียบมากขึ้น (ย้อมสีแดงทั้งหมด) ในขณะที่หนูที่ไม่ได้รับการรักษาด้วย Metformin และหนูแก่ (I, J) มีเส้นใยคอลลาเจนที่ไม่เป็นระเบียบมากกว่า (ย้อมสีน้ําเงิน) หนูแก่ที่ได้รับการรักษาด้วยการฉีดเมตฟอร์มินเป็นเวลา 8 สัปดาห์ (K, L) พบว่า มีเส้นใยคอลลาเจนที่หนาแน่นและเป็นระเบียบมากกว่าเส้นใยที่ไม่ได้รับการรักษา 



Metformin และการต้านความชราภาพ 


Zhang และเพื่อนร่วมงาน แสดงให้เห็นว่า เมตฟอร์มินสามารถใช้เพื่อย้อนวัยของเส้นเอ็นได้อย่างไร การศึกษาอื่นๆ แสดงให้เห็นว่า เมตฟอร์มินสามารถฟื้นฟูอวัยวะที่มีอายุมากในหนูได้อย่างไร และการศึกษานี้บ่งชี้ว่า เส้นเอ็นก็ไม่ต่างกัน ต่อมไทมัสที่มีอายุและอวัยวะเจริญพันธุ์ที่มัอายุ ทั้งในหนูทดลอง ยังแสดงให้เห็นว่า ได้รับผลกระทบในเชิงบวกจากเมตฟอร์มิน 


มีการทดลองทางคลินิกหลายครั้ง รวมถึงการศึกษา Metformin in Longevity Study (MILES) study และ Targeting Aging with Metformin (TAME) study อยู่ในระหว่างดําเนินการเพื่อพิจารณาว่า เมตฟอร์มิน จะส่งผลต่อความชราของมนุษย์อย่างไร และความปลอดภัยของการใช้เมตฟอร์มินในระยะยาว เช่นเดียวกับยาส่วนใหญ่, metformin ไม่ได้ไม่มีผลข้างเคียง ซึ่งอาจรวมถึงการขาดวิตามินบี, เบื่ออาหารและคลื่นไส้ และอื่นๆ และขณะนี้ก็ต้องมีใบสั่งแพทย์เท่านั้น



Source


Zhang, J., Brown, R., Hogan, M. C. V., Onishi, K., & Wang, J. H. C. (2022). Metformin improves tendon degeneration by blocking translocation of HMGB1 and suppressing tendon inflammation and senescence in aging mice. Journal of Orthopaedic Research. https://doi.org/10.1002/jor.25470   



Comments


สินค้าขายดี

bottom of page