top of page
Writer's picturedr.bunlue

การวิจัยที่บ่งชี้ว่า NAD ช่วยป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลวได้

Updated: Jan 8



NAD ช่วยป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลวได้
NAD ช่วยป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลวได้

นักวิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นว่า การฉีด NAD ให้หนูทดลองที่เป็นโรคหัวใจ พบว่าการทำงานของหัวใจดีขึ้นและลดความเสียหายของหัวใจ


ประเด็นสำคัญ: 


  • ระดับ NAD ที่หัวใจลดน้อยลงตามอายุ ในหนูที่เป็นโรคหัวใจ ที่เรียกว่า Dilated cardiomyopathy จะนําไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว

  • การเติม NAD ช่วยเพิ่มการทํางานของหัวใจ รวมถึงปริมาณเลือดที่สูบฉีดจากหัวใจในแต่ละจังหวะ  

  • การเติม NAD ยังช่วยป้องกันโรคหัวใจรวมถึงความเสียหายของเนื้อเยื่อ 


หลังจากอายุ 50 ปีไปแล้ว พบว่ามีคนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะหัวใจล้มเหลว (HF) เพิ่มเป็นสองเท่าในแต่ละทศวรรษ (R) การให้ยาและการผ่าตัด ช่วยให้ผู้ป่วย HF ลดการทำงานของหัวใจที่หนักเกินไปได้ แต่ขณะนี้ยังไม่มีวิธีการรักษาที่ได้มาตรฐานสําหรับผู้ป่วย HF (R) ด้วยเหตุนี้ เราจึงสามารถป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลวได้ด้วยวิธีการดําเนินชีวิตที่หลากหลาย เช่น การกินอาหารและการออกกําลังกาย นอกจากนี้การศึกษาใหม่ชี้ให้เห็นว่า วิธีการดําเนินชีวิตดังกล่าวสามารถเสริมด้วยยาต้านความชราได้เช่น NAD


จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน Nature Cardiovascular Research นักวิจัยจาก Hospital for Sick Children ในแคนาดารายงานว่า NAD ช่วยป้องกันโรคหัวใจที่เรียกว่า dilated cardiomyopathy (DCM) ได้ ทีมวิจัยได้แสดงให้เห็นว่า หนูทดลองที่เป็นโรค DCM และตายก่อนวัยด้วยภาวะหัวใจล้มเหลว พบว่าหนูพวกนี้มีระดับ NAD ที่หัวใจต่ำ ทีมวิจัยจึงได้ฉีด NAD ให้กับหนูทดลองกลุ่มนี้ก่อนที่จะมีอาการของโรคหัวใจ และพบว่าสามารถป้องกันพยาธิสภาพของโรค DCM ได้ 


"เรารู้สึกประหลาดใจที่พบว่า ความผิดปกติของการผลิตพลังงาน เป็นสัญญาณแรกสุดของภาวะหัวใจล้มเหลว" Dr. Paul Delgado-Olguín 1 ในทีมงานของการศึกษากล่าว "คนที่มีความบกพร่องในการผลิตพลังงาน สุดท้ายจะเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว แต่จากการวิจัยของเราพบว่า นี่อาจเป็นสาเหตุของภาวะหัวใจล้มเหลว ไม่ใช่ผลลัพธ์"



ภาพหัวใจที่มีการเผาผลาญผิดปกติ DCM
ภาพหัวใจที่มีการเผาผลาญผิดปกติ DCM

Ahmed et al., 2023 | Nat. Cardiovasc. Res. สรุป ซ้าย: หัวใจของหนูที่มีสุขภาพดี จะมีการเผาผลาญพลังงานตามปกติ, มีการผลิต NAD และมีพลังงาน ATP ในระดับที่เพียงพอ ขวา: หัวใจของหนูที่เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับภาวะหัวใจล้มเหลว; จะมีระดับ NAD ต่ํา, พลังงาน ATP ในเซลล์ต่ำ และขนาดห้องหัวใจขยายใหญ่





การฉีด NAD ช่วยรักษาการทํางานของหัวใจในหนูที่เป็นโรค 


Dilatated cardiomyopathy (DCM) เป็นโรคหัวใจโดยที่ช่องซ้ายของหัวใจขยายใหญ่ขึ้นและไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปยังร่างกายได้เพียงพอ ในที่สุดจะนําไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว (HF) ถ้าไม่ได้รับการรักษา คนไข้ DCM ที่มีสาเหตุจากกรรมพันธุ์ พบได้ประมาณ 30% และอีก 70% ไม่พบสาเหตุ ดังนั้นทีมนักวิจัย จึงพยายามตรวจสอบว่า การเผาผลาญพลังงานมีบทบาทในโรคร้ายแรงนี้หรือไม่ 


อันดับแรก ทีมนักวิจัยได้สร้างหนูทดลองที่เป็นโรค DCM และ HF โดยการลบยีน Kdm8 ออกจากหัวใจของหนู ซึ่งยีน Kdm8 มีความเกี่ยวข้องกับ HF ในหนูและคนที่เป็นโรคหัวใจแต่กำเนิด หนูที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ (หนู HF) จะมีอาการของ DCM รวมถึงขนาดห้องหัวใจ Ventricles ที่ขยายใหญ่ขึ้นและตายก่อนเวลาอันควรด้วยภาวะหัวใจล้มเหลว หัวใจของหนู HF ยังแสดงให้เห็นว่า มีการเผาผลาญพลังงาน NAD ลดน้อยลงตามอายุ



ในหนูที่หัวใจล้มเหลว (HF) จะมีระดับ NAD ที่หัวใจลดลงตามอายุ
ในหนูที่หัวใจล้มเหลว (HF) จะมีระดับ NAD ที่หัวใจลดลงตามอายุ

Ahmed et al., 2023 | Nat. Cardiovasc. Res.- ในหนูที่หัวใจล้มเหลว (HF) จะมีระดับ NAD ที่หัวใจลดลงตามอายุ เมื่อเทียบกับหนูปกติ (สีขาว), หนู HF (สีแดง) มีระดับ NAD ที่ลดต่ำลง (Peak area) ที่อายุ 6 เดือน แต่ไม่ใช่ 3 เดือน ซึ่งบ่งชี้ว่า NAD ลดลงตามอายุ


เพื่อตรวจสอบว่า การเติม NAD จะป้องกันการเกิดอาการและเพิ่มอาการของ DCM มากขึ้นหรือไม่ ทีมวิจัย จึงฉีด NAD 50 มก./กก./วัน ให้กับหนู เป็นเวลาสองเดือน การรักษาด้วย NAD เริ่มขึ้นก่อนที่ หนู HF จะมีอาการของหัวใจเกิดขึ้น แสดงให้เห็นว่า การฉีด NAD ช่วยป้องกันการขยายตัวของห้องหัวใจ ventricle และการทำงานผิดปกติของหัวใจ, จากประเมินด้วยมาตรการต่างๆ เช่น การฉีดสีในหนู HF  



การเติม NAD ช่วยป้องกันความผิดปกติของหัวใจในหนูที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว (HF)
การเติม NAD ช่วยป้องกันความผิดปกติของหัวใจในหนูที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว (HF)

Ahmed et al., 2023 | Nat. Cardiovasc. Res. - การเติม NAD ช่วยป้องกันความผิดปกติของหัวใจในหนูที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว (HF) เมื่อเปรียบเทียบกับหนูปกติ (สีดําทึบ) และหนูปกติที่ฉีดด้วย NAD (กรอบสีเทา), หนู HF (สีแดงทึบ) แสดงการฉีดสี ที่ต่ำกว่า ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ความผิดปกติของหัวใจ การฉีดหนู HF ด้วย NAD (กรอบสีแดง) ช่วยป้องกันสิ่งนี้ได้



เมื่อเซลล์หัวใจที่เป็นโรคตาย ปกติแล้ว เซลล์ที่ตายมักจะไม่ถูกแทนที่ด้วยเซลล์ที่มีชีวิต แต่จะมีคอลลาเจนปรากฏในรอยแผลเป็นของเนื้อเยื่อ ซึ่งก็คือ พังผืด (Fibrosis) ทีมวิจัยพบว่า หนู HF จะมีพังผืดเพิ่มมากขึ้นตามอายุ โดยวัดจากปริมาณคอลลาเจนที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การฉีดหนู HF ด้วย NAD ป้องกันการเพิ่มขึ้นของพังผืดนี้ ซึ่งบ่งชี้ว่า NAD สามารถป้องกันความเสียหายของเนื้อเยื่อหัวใจ ซึ่งอาจนําไปสู่การปรับปรุงการทํางานของหัวใจให้ดีขึ้น



การเติม NAD ช่วยป้องกันความผิดปกติของหัวใจในหนูที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว (HF)
การเติม NAD ช่วยป้องกันความผิดปกติของหัวใจในหนูที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว (HF)

Ahmed et al., 2023 | Nat. Cardiovasc. Res. การเติม NAD ช่วยป้องกันความเสียหายของหัวใจในหนูหัวใจล้มเหลว (HF) เมื่อเทียบกับหนูปกติ (สีดําทึบ) และหนูปกติที่ฉีดด้วย NAD (กรอบสีดํา), หนู HF (สีแดงทึบ) มีรอยแผลเป็นเนื้อเยื่อน้อยกว่า เป็นตัวบ่งชี้ความเสียหาย โดยวัดจากปริมาณคอลลาเจน การฉีดหนู HF ด้วย NAD (กรอบสีแดง) ช่วยป้องกันสิ่งนี้ได้



การรักษาในช่วงต้นด้วย NAD สามารถป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลวได้หรือไม่?


จากการศึกษาเบื้องต้นในมนุษย์พบว่า NAD booster เช่น NR (nicotinamide riboside) ช่วยลดการอักเสบในผู้ป่วย HF แต่การศึกษานี้มีผู้เข้าร่วมเพียง 5 คนเท่านั้น และกำลังรอผลการศึกษาขนาดใหญ่ที่มีผู้เข้าร่วม 40 คน (R) การศึกษาขนาดใหญ่นี้ จะช่วยยืนยันว่า การเพิ่มระดับ NAD จะช่วยรักษาผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวได้หรือไม่ 


ผลการวิจัยของ Ahmed และเพื่อนร่วมงาน แสดงให้เห็นว่า การเพิ่มระดับ NAD โดยตรงแทนที่จะใช้สารตั้งต้น NAD เช่น NMN หรือ NR สามารถป้องกันโรคหัวใจได้ หากให้ยาก่อนเกิดสัญญาณของภาวะหัวใจล้มเหลว


“การวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า อาจเป็นไปได้ที่จะเปลี่ยนเส้นทางการเผาผลาญบางอย่างเพื่อป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลวก่อนที่ความเสียหายต่อหัวใจจะเริ่มเกิดขึ้น” Dr. Delgado-Olguín ให้ความเห็น

ในขณะที่ผลลัพธ์เหล่านี้มีแนวโน้ม หนูทดลองที่ใช้ในการศึกษานี้ อาจจะให้ข้อมูลที่ไม่เป็นกลาง เนื่องจาก การใช้ยีนเฉพาะ - Kdm8 ในการทำวิจัย ซึ่งทำให้ไม่สามารถสรุปพยาธิสภาพของเซลล์ของ DCM ได้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นจะต้องทดสอบกับหนูทดลองเพิ่มเติม ถึงกระนั้นคุณสมบัติหลายอย่างของ DCM เช่น การฉีดสีที่ลดลงและพังผืด เป็นคุณสมบัติของหัวใจที่แก่ชรา ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่า NAD สามารถบรรเทาความชราของหัวใจและโรคหัวใจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอายุได้ 






Source


Model: 2-month-old C57BL6/J mice with Kdm8 gene removed to model heart failure

Dosage: Intraperitoneal injections of 50 mg/kg/day of NAD+ for two months


References


Ahmed, A., Syed, J.N., Chi, L. et al. KDM8 epigenetically controls cardiac metabolism to prevent initiation of dilated cardiomyopathy. Nat Cardiovasc Res 2, 174–191 (2023). https://doi.org/10.1038/s44161-023-00214-0





Comentários


สินค้าขายดี

bottom of page