ชาเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมกันทั่วโลก และให้ประโยชน์ต่อร่างกายโดยสาร EGCG ที่พบได้มากในชาเขียว โดยเฉพาะ มัทฉะ
ใบชาเขียว (Green Tea) มีสารสำคัญอะไร?
สารกลุ่มโพลีฟีนอล (Polyphenol ~ 90%)
กรดอะมิโน (Amino acid ~ 7%)
Thione, Proanthocyanins และ Caffeine ~3%
ทั้ง คาเทชิน (Catechins) และฟลาวานอล (Flavanols) จัดอยู่ในกลุ่มโพลีฟีนอล ซึ่งเป็นสารหลักในชาเขียว ซึ่งสารกลุ่มคาเทชิน ยังประกอบไปด้วย
epigallocatechin-3-gallate (EGCG) ซึ่งโดดเด่นที่สุดในชาเขียว
epigallocatechin (EGC)
epicatechin-3-gallate (ECG)
epicatechin (EC).
EGCG ถือว่าเป็น catachin ที่มีมากที่สุด 50-80% (1) เนื่องจากเป็นสารที่มีลักษณะเฉพาะตัวและมีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ ทั้งยังมีบทบาทสำคัญในการช่วยเรื่องสุขภาพ ทำให้ชาเขียว โดยเฉพาะมัทฉะมีความโดดเด่นแยกออกมาจาก เครื่องดื่มชาชนิดอื่น ซึ่งจัดให้มัทฉะเป็นชาเกรดที่คุณภาพดีที่สุด
EGCG ในอาหารและเครื่องดื่ม
พบว่า EGCG มีมากใน
ชาเขียว - Green tea มีมากกว่าในชาดำ (black tea)
ชาดำ - Black tea
ชาขาว - White tea
ชาอู่หลง - Oolong tea
พบได้น้อยใน พืชตระกูลเบอร์รี่
ผลไม้ เช่น กีวี, เชอร์รี่, ลูกแพร์, พีช และแอปเปิ้ล
อโวคาโด
พวกถั่ว เช่น พิตาชิโอ, พีแคน และ hazelnuts
ทั้งชาเขียวและชาดำ ต่างก็ได้มาจากต้น Camellia sinensis ที่เป็นพืชท้องถิ่นในจีน อินเดียว และแถบเอเชีย ที่นิยมปลูกเพื่อนำใบมาทำเป็นชา เพื่อชงดื่ม ใบชาดำจะมีกระบวนการทำที่มากว่าชาเขียว ทำให้มีปริมาณสารฟลาโวนอยด์และ EGCG น้อยกว่าในชาเขียวเล็กน้อย
ดังนั้นจุดเริ่มต้นของชาเขียว ไม่ว่าจะเป็นแบบผงที่ใส่ไว้ในซอง แช่น้ำร้อน หรือจะเป็นแบบใบตากแห้ง แล้วนำไปชงกับน้ำร้อน เราจะเรียก ชาเขียวเหล่านี้ว่า “Green Tea” แต่ลักษณะการเรียกชื่อจะแตกต่างกันออกไปตามรูปแบบ เช่น
ใบชาที่เป็นใบแห้ง ใช้ชงกับน้ำร้อน เราเรียกกันว่า เซนฉะ (Sencha)
แบบใบผสมกับความหอมของข้าวคั่ว หรือชาข้าว จะเรียกว่า เก็นมัยฉะ (Genmaicha) และ
ชาเขียวที่นำมาบดเป็นผงละเอียด จนละลายในน้ำได้ พร้อมดื่ม มีความเข้มข้นสูง เราเรียกว่า มัทฉะ (Matcha) เป็นชาเขียวที่จัดได้ว่าเป็นที่นิยมอย่างมาก และมีกรรมวิธีในการผลิตที่ซับซ้อนมากกว่า Green Tea อย่างมากเลยทีเดียว
ดื่มชาเขียวมัทฉะอย่างไรได้สาร EGCG สูงที่สุด?
ปริมาณของสารที่ออกฤทธิ์ในชาเขียว (รวมทั้งสาร polyphenol) จะแตกต่างกันไปขึ้นกับหลายปัจจัย ตั้งแต่สายพันธุ์, วิธีการปลูก, วิธีการดูแล, การเก็บเกี่ยว, การอบ และการเตรียมการ ดังนั้นราคาของชาเขียวจึงขึ้นกับปริมาณของสาร EGCG ที่พบ, ยิ่งมี EGCG มาก ราคายิ่งสูง
การเพิ่มความเข้มข้นของ EGCG ในใบชาสามารถทำได้โดยการแช่ในน้ําเดือด (ไม่ใช่แค่น้ําร้อน) และปล่อยทิ้งไว้ราว 10 นาทีเต็มก่อนที่จะเอาใบชาออก วิธีนี้จะทำให้น้ำชามีรสขมมากขึ้น แต่ถ้าเป็นชาเขียวมัทฉะ ที่ละลายได้ในน้ำร้อน ประมาณ 70-80 องศาเซลเซียส จะทำให้รสขมลดน้อยลงและคงมีสาร EGCG ในปริมาณสูงอยู่ และถ้าต้องการให้ได้รสชาติของชาเขียวที่ดีขึ้น แนะนำให้ใช้พู่กันตี หรือเครื่องปั่น เพื่อทำให้เกิดฟอง จะทำให้ได้รสชาติชาเขียวมัทฉะที่ดีมาก
มีคำแนะนำในการดื่มชาเขียวให้ได้สาร EGCG สูงและประโยชน์มากที่สุด (2) ดังนี้
เลือกขาเขียวที่มีคุณภาพสูง เช่น ชาเขียวมัทฉะ (Match green tea) เป็นชาเขียวคุณภาพสูง เป็นผงที่บดละเอียด ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีและนิยมดื่มในญี่ปุ่นมานานหลายร้อยปี ยิ่งถ้าได้เป็นมัทฉะเข้มข้น เช่น มัทฉะช็อต จะมีสาร EGCG สูงมากเป็นพิเศษ
ควรดื่มตอนท้องว่าง ห้ามดื่มในเวลากินอาหาร เพราะสาร EGCG จะจับกับโปรตีนในอาหาร (3) แล้วฟอร์มเป็นสารที่ดูดซึมได้ยาก นอกจากนี้สาร EGCG ยังสามารถจับกับแร่ธาตุในอาหาร เช่น ธาตุเหล็ก (4) ซึ่งจะลดการดูดซึมลงได้เช่นกัน จึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งในการดื่มชาเขียวที่ต้องแยกจากการกินอาหาร จึงแนะนำให้ดื่มชาเขียนตอนท้องว่าง จะได้ประโยชน์มากที่สุด
เลี่ยงชาเขียวรสหวาน โดยเฉพาะจากน้ำตาล ซึ่งจะทำให้ปริมาณสาร EGCG ลดลง
ดื่มชาเขียวก่อนนอนดีมั้ย?
เนื่องจากชาเขียว มีคาเฟอีนต่ำกว่ากาแฟ และชาดำ (ดังตารางด้านล่าง) (5) ดังนั้นชาเขียวจึงเหมาะกับคนที่มีปัญหากับสารคาเฟอีน (ที่พบมากในกาแฟ) นอกจากนี้ ถ้าคุณไม่มีปัญหากับสารคาเฟอีนมากเกินไป ก็ยังสามารถดื่มชาเขียวมัทฉะในช่วงเย็นหรือก่อนนอนก็ได้ เพราะมีคาเฟอีนในระดับต่ำ
Beverage | คาเฟอีน / ถ้วย 8 ออนซ์ |
---|---|
Green tea - ชาเขียว | 35 - 70 มก. |
Black tea - ชาดำ | 60 - 90 มก. |
Coffee - กาแฟ | 150 - 200 มก. |
EGCG มีผลอย่างไรต่อเชื้อจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร?
จุลินทรีย์ชนิดดีในทางเดินอาหาร มีความจำเป็นต่อการสร้างสมดุลย์ในลำไส้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ และจะทำงานร่วมกับสารกลุ่ม polyphenol รวมทั้ง EGCG ด้วย เชื้อจุลินทรีย์ชนิดดีพวกนี้ จะเปลี่ยนสารกลุ่ม polyphenols ให้เป็นสารที่ช่วยในการดูดซึมอาหารและทำหน้าที่หลายอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย (6) , (7)
สรุป: ทิป 4 ข้อในการดื่มชาเขียวมัทฉะเพื่อให้ได้ EGCG สูงสุด:
เลือกเกรดชาที่มีคุณภาพสูง
ให้ความสำคัญต่อวิธีการชงชา
ดื่มตอนท้องว่าง
เลี่ยงชารสหวานจากน้ำตาล
#drbunlue #NMP #NMN #NAD #ChapaGroupAndMadePhuwiang #ย้อนวัยไปกับ_drbunlue #antiaging #ชะลอวัย #สุขภาพดี #tiktokสุขภาพ #ลืมป่วย #healthy #healthycare #healthyfood #ดูแลสุขภาพ #EGCG #GreenTea #Catachin #Polyphenol #ชาเขียวมัทฉะ #มัทฉะ
Comments