เมื่อพิจารณาจากความสามารถในการยืดอายุขัยในหนูทั้งตัวผู้และตัวเมีย Bryan Johnson นักลงทุนด้านชะลอวัยระดับแนวหน้าคนหนึ่งของโลก ได้ยกให้สารที่ช่วยให้อายุยืนยาวระดับต้น 3 อันดับ ได้แก่ ราปามัยซิน (Rapamycin), ทอรีน (Taurine) และอะคาร์โบส (Acarbose)
Highlights:
ไบรอัน จอห์นสันทานอาหารเสริมและยามากกว่า 50 รายการต่อวันเพื่อช่วยชะลอวัย
ราปามัยซิน ทอรีน และอะคาร์โบส อยู่ในอันดับต้นในบรรดาสารต่อต้านวัยชรา เมื่อพิจารณาจากสามารถยืดอายุขัยที่พบในหนูทั้งตัวผู้และตัวเมียได้
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มร. ไบรอัน จอห์นสันได้คิดค้นแนวทางการต่อต้านวัยชราที่เรียกว่า พิมพ์เขียว ซึ่งเขาเปิดให้ทุกคนใช้ได้ฟรี อย่างไรก็ตาม คนส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มั่งคั่งพอ ที่จะทำตามแนวทางของเขาอย่างเต็มที่ ตัวอย่างเช่น Johnson รับประทานยาตามใบสั่งแพทย์และยาที่ไม่ต้องสั่งโดยแพทย์ 2-3 กำมือทุกวัน ซึ่งอาจจะมีราคาแพงพอควร เมื่อพิจารณาเรื่องนี้ บางคนอาจสงสัยว่า ยาเม็ดใดที่มีแนวโน้มจะช่วยเพิ่มอายุขัยได้มากที่สุด
สารต่อต้านวัยชรา 3 อันดับแรก
เป้าหมายของการวิจัยชีววิทยาด้านผู้สูงอายุส่วนใหญ่คือ การแนวทางหรือสารที่ช่วยส่งเสริมการมีอายุยืนยาว — อายุขัยที่ยืนยาวขึ้น คงไม่มีใครที่อยากจะมีชีวิตที่ยืนยาวมากขึ้นโดยมีสุขภาพที่ย่ำแย่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่น่าดูมาก นักวิจัยจึงมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาช่วงสุขภาพ (Healthspan) ด้วย ซึ่งก็คือการมีอายุที่ยืนยาวและมีสุขภาพที่ดีควบคู่กัน ยาต่อต้านวัยชราชั้นนำในมุมมองของ มร. ไบรอัน จอห์นสัน ซึ่งสารเหล่านี้ พิจารณาจากประสิทธิภาพในการช่วยเพิ่มอายุขัยให้ยืนยาวมากขึ้นได้หรือไม่
ด้วยมาตรฐานที่สูงในการกำหนดประสิทธิภาพของการมีอายุยืนยาวของแนวทางที่ใช้คือ หากจะเพิ่มอายุขัยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งมักจะใช้หนู เนื่องจากการทดลองควบคุมการมีอายุยืนยาวของมนุษย์นั้นใช้เวลานานเกินไปและมีค่าใช้จ่ายสูงมากในการดำเนินการ ดังนั้น เราจะเลือกใช้ยาต่อต้านวัยชราอันดับต้นๆ ของจอห์นสันโดยพิจารณาว่า จะยืดอายุขัยของหนูได้หรือไม่ นอกจากนี้ จะพิจารณาเฉพาะยาที่ยืดอายุขัยของหนูได้ทั้งตัวเมียและตัวผู้เท่านั้น
ราปามัยซิน (Rapamycin)
การรับประทานราปามัยซิน แสดงให้เห็นว่า สามารถยืดอายุขัยของหนูได้ 23% ในหนูตัวผู้ และ 26% ในหนูตัวเมีย (R) ค่าจากการยืดอายุขัยเหล่านี้ ทำให้ราปามัยซินเป็นหนึ่งในยาต่อต้านวัยชราที่มีประสิทธิภาพที่สุดในปัจจุบัน
ราปามัยซินถูกค้นพบในปล่องภูเขาไฟโบราณบนเกาะราปานุย หรือที่รู้จักกันในชื่อ เกาะอีสเตอร์ เมื่อปี 1964 ปัจจุบันใช้เป็นยาป้องกันการปฏิเสธการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อ เช่น ไต เป็นต้น อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาในปี 2014 (R) พบว่า ราปรมัยซินสามารถลดการอักเสบในผู้สูงอายุได้หากรับประทานเป็นรอบในปริมาณที่สูงขึ้น
ทอรีน (Taurine)
ทอรีน (Taurine) เป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่ง (ส่วนประกอบของโปรตีนที่มีกำมะถัน) ที่เรียกว่า กรดอะมิโนซัลโฟนิกที่ร่างกายของเราสังเคราะห์ขึ้นได้เองตามธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม ระดับทอรีนมีแนวโน้มที่จะลดลงตามอายุในมนุษย์ ลิง และหนู ดังนั้น การเสริมด้วยทอรีน จะช่วยให้หนูจะมีอายุยืนยาวขึ้น 10% ในหนูตัวเมียและในหนูตัวผู้ 12% (R) ในมนุษย์ ระดับทอรีนที่ต่ำมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่สูงขึ้นต่อการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ (R) ดังนั้นการเสริมทอรีนในมนุษย์ อาจเติมเต็มการสูญเสียทอรีนตามอายุเพื่อยืดอายุขัยได้
อะคาร์โบส (Acarbose)
ยาต้านโรคเบาหวานอะคาร์โบส สามารถยืดอายุขัยของหนูได้ โดยในหนูตัวผู้เพิ่มขึ้น 22% และ ในหนูตัวเมียเพิ่มขึ้น 5% (R) ในผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภท 2 อะคาร์โบสมีความเกี่ยวข้องกับการลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ (R) การรักษาด้วยอะคาร์โบส สามารถลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ที่ไม่มีโรคเบาหวานได้หรือไม่นั้น, เรื่องนี้ยังคงต้องพิจารณาต่อไป เมื่อพิจารณาว่า อะคาร์โบสช่วยต่อต้านระดับน้ำตาลในเลือดสูง ประสิทธิภาพของอะคาร์โบสอาจปรับตามการบริโภคคาร์โบไฮเดรตในอาหาร โดยการบริโภคคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยได้ช้า ก็อาจให้ผลที่คล้ายกัน
สารต่อต้านวัยชราได้ผลเฉพาะเพศ
สารต่อต้านวัยชราของมนุษย์ ที่มีศักยภาพ จากรายการของจอห์นสัน ที่แสดงให้เห็นว่า สามารถเพิ่มอายุขัยของหนูตัวผู้ ได้แก่ 17ɑ-estradiol และวิตามินซี ในขณะที่อัลฟาคีโตกลูตาเรต (AKG: alpha-ketoglutarate) และสเปิร์มิดีน (Spermidine) ช่วยเพิ่มอายุขัยของหนูตัวเมีย
ยาบางชนิดของ มร. จอห์นสันไม่ได้อยู่ในรายชื่อ 3 อันดับแรก เนื่องจากได้รับการทดสอบกับหนูสายพันธุ์แท้ หรือหนูที่มีการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรม ตัวอย่างเช่น อาหารเสริมตัวหนึ่งในรายการที่เรียกว่า กลูโคซามีนซัลเฟต (Glucosamine sulphate) ซึ่งใช้ในการรักษาโรคข้ออักเสบ แสดงให้เห็นว่า ช่วยเพิ่มอายุขัยของหนู (R) แต่หนูเหล่านี้ มีการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมที่ส่งเสริมความเสื่อมของจอประสาทตา สายพันธุ์ของหนูดังกล่าวอาจไม่ส่งผลต่อคนทั่วไปได้
ในทำนองเดียวกัน มาตรการบางอย่างของ มร. จอห์นสันไม่อาจจะนำมาใช้กับคนทั่วไป เนื่องจากมาตรการเหล่านี้ ส่งผลต่อเพศเดียวเท่านั้น ซึ่งรวมถึง อัลฟาคีโตกลูตาเรต (AKG: alpha-ketoglutarate) และสเปิร์มิดีน (Spermidine) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ช่วยเพิ่มอายุขัยของหนูตัวเมียเท่านั้น แต่ไม่ช่วยเพิ่มอายุขัยของหนูตัวผู้ด้วย ในทางกลับกัน วิตามินซี , 17α-estradiol , แอสตาแซนธินและ N-acetyl-L-cysteine (NAC) แสดงให้เห็นว่า ช่วยให้หนูตัวผู้มีอายุยืนยาวขึ้นเท่านั้น ไม่ช่วยยืดอายุหนูตัวเมีย
สารต่อต้านวัยชราที่มีหลักฐานขัดแย้งกัน
ยาบางรายการในลิสต์ของ มร. จอห์นสันแสดงให้เห็นว่า ช่วยเพิ่มอายุขัยของหนูได้ในการศึกษาบางชิ้นเท่านั้น ไม่ใช่ทั้งหมด ตัวอย่างเช่น เมลาโทนิน (Melatonin) ที่แสดงให้เห็นว่า ช่วยเพิ่มอายุขัยในการศึกษาบางชิ้นเท่านั้น แต่ในบางการศึกษากลับตรงข้าม คือ อายุขัยของหนูลดลง (R) ในทำนองเดียวกันเมทฟอร์มินช่วยเพิ่มอายุขัยของหนูในการศึกษาหนึ่ง (R) แต่ไม่มีผลกระทบในการศึกษา (R) อื่น
นอกจากนี้ยังมี ผลลัพธ์ของ Fisetin ทั้งเชิงบวก (R) และเชิงลบ (R) , ผลลัพธ์ Nicotinamide riboside (NR) เชิงบวกและเชิงลบ และผลลัพธ์ที่ขัดแย้งกันสำหรับโคเอ็นไซม์ Q10
มาตรการอื่นๆ แสดงให้เห็นว่า ช่วยเพิ่มอายุขัยของหนู แต่จากข้อมูลในมนุษย์แสดงให้เห็นว่า มาตรการเดียวกันนี้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ ตัวอย่างเช่น พบว่า เจนิสตีน (Genistin) ในอาหารช่วยเพิ่มอายุขัยของหนูตัวผู้ได้ถึง 10% (R) แต่ระดับเจนิสตีนในปัสสาวะที่สูงในมนุษย์ สัมพันธ์กับความเสี่ยงที่สูงขึ้นต่อการเสียชีวิต จากทุกสาเหตุ (R) ในทำนองเดียวกัน แอสไพรินทำให้หนูตัวผู้มีอายุยืนยาวขึ้น 8% (R) แต่การบริโภคแอสไพรินในปริมาณสูงนั้นสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่สูงขึ้นของการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุในมนุษย์ (R) นอกจากนี้ วิตามินอียังช่วยเพิ่มอายุขัยของหนูได้ 15% (R) แต่ขนาดยา 400 IU ต่อวันหรือสูงกว่านั้นสัมพันธ์กับการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุที่สูงขึ้นในมนุษย์ (R)
สารต่อต้านวัยชราที่ช่วยเพิ่มอายุขัยของแมลงวันและหนอน
จอห์นสันใช้กรดไอโคซาเพนตะอีโนอิก (EPA: eicosapentaenoic acid) ซึ่งเป็นกรดไขมันโอเมก้า 3 ชนิดหนึ่ง ที่พบในน้ำมันปลา ซึ่งแสดงให้เห็นว่า สามารถยืดอายุขัยของแมลงวันได้
ในขณะที่หนู ซึ่งมีวิวัฒนาการใกล้ชิดกับมนุษย์มากขึ้น จากการศึกษาบางชิ้นแสดงให้เห็นว่า ยาต่อต้านวัยชราของ มร. จอห์นสันหลายตัวช่วยเพิ่มอายุขัยของสิ่งมีชีวิตในห้องทดลอง เช่น หนอนและแมลงวัน ตัวอย่าง เช่น ซัลโฟราเฟน (Sulforaphane), Ashwagandha, cocoa, garlic extract, ginger root extract, curcumin ซึ่งเป็นสารต่อต้านวัยชราในขมิ้น ช่วยให้หนอนมีอายุยืนยาวขึ้น (R) แต่การยืดอายุขัยของหนอนไม่ได้แปลว่า จะช่วยยืดอายุของหนูเสมอไป อย่างเช่นในกรณีของเคอร์คูมิน (R) อย่างไรก็ตาม การบริโภคขมิ้นในปริมาณมากสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่ลดลงของการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุในมนุษย์ (R)
นอกจากนี้ EPA น้ำมันปลายังแสดงให้เห็นว่า สามารถยืดอายุแมลงวันได้ (R) และโอเมก้า 3 ที่หมุนเวียนในกระแสเลือดในระดับสูง ยังสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่ลดลงในการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ (R)
สารต่อต้านวัยชราอื่นๆ
สารประกอบต่อต้านวัยชราอื่นๆ จากรายการของ มร. จอห์นสันแสดงให้เห็นว่า มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุลดลง แต่ยังขาดการวิจัยในสัตว์ควบคุม ซึ่งรวมถึง น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์, วิตามิน B6 และ B9, DHEA, lycopene, zeaxanthin, vitamin D, lithium, และ zinc.
นอกจากนี้ แอล-ไทโรซีนยังสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจอีก ด้วย (R) ในทางตรงกันข้าม ไอโอดีนที่สูงมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่สูงขึ้นต่อการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ (R) และวิตามินเคไม่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ (R)
สารประกอบอื่นๆ เช่น โบรอน ยังขาดหลักฐานในการต่อต้านวัยชรา ถึงกระนั้น ยาอื่นๆ ที่อาจเฉพาะเจาะจงในลิสต์ของ มร. จอห์นสันเท่านั้น เช่น ยาเลโวไทร็อกซีน (ใช้รักษา hypothyroidism) และยา Viviscal (ใช้สำหรับการเจริญเติบโตของเส้นผม) นอกจากนี้ อาหารเสริม เช่น โปรตีนถั่ว ไลซีน และธาตุเหล็ก อาจจะมีอยู่ในรายการเพื่อชดเชยของอาหารมังสวิรัติของ มร.จอห์นสัน
สำหรับ NMN ต่อผลการต่อต้านวัยชรา
NMN ไม่ได้ติดสามอันดับแรก เนื่องจากไม่ได้แสดงให้เห็นว่า ช่วยให้หนูตัวผู้และหนูตัวเมียสามารถยืดอายุขัยได้ อย่างไรก็ตาม ดร. เดวิด ซินแคลร์ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และกลุ่มของเขายังไม่ได้เผยแพร่ข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่า NMN ช่วยเพิ่มอายุขัยของหนูตัวเมีย (R) ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อพิจารณาว่า เหตุใด NMN จึงเพียงแต่ยืดอายุขัยของหนูตัวเมียเท่านั้น และสิ่งนี้จะส่งผลต่อมนุษย์หรือไม่
---------------------
อ้างอิง
Miller, R. A., Harrison, D. E., Astle, C. M., Fernandez, E., Flurkey, K., Han, M., Javors, M. A., Li, X., Nadon, N. L., Nelson, J. F., Pletcher, S., Salmon, A. B., Sharp, Z. D., Roekel, S. V., Winkleman, L., & Strong, R. (2014). Rapamycin-mediated lifespan increase in mice is dose and sex dependent and metabolically distinct from dietary restriction. Aging Cell, 13(3), 468-477. https://doi.org/10.1111/acel.12194
Mannick, J. B., Giudice, G. D., Lattanzi, M., Valiante, N. M., Praestgaard, J., Huang, B., Lonetto, M. A., Maecker, H. T., Kovarik, J., Carson, S., Glass, D. J., & Klickstein, L. B. (2014). MTOR inhibition improves immune function in the elderly. Science Translational Medicine. https://doi.org/3009892
Yamori, Y., Liu, L., Ikeda, K., Miura, A., Mizushima, S., Miki, T., & Nara, Y. (2002). Distribution of twenty-four hour urinary taurine excretion and association with ischemic heart disease mortality in 24 populations of 16 countries: Results from the WHO-cardiac study. Hypertension Research. https://www.jstage.jst.go.jp/article/hypres/24/4/24_4_453/_article
Harrison, D. E., Strong, R., Allison, D. B., Ames, B. N., Astle, C. M., Atamna, H., Fernandez, E., Flurkey, K., Javors, M. A., Nadon, N. L., Nelson, J. F., Pletcher, S., Simpkins, J. W., Smith, D., Wilkinson, J. E., & Miller, R. A. (2014). Acarbose, 17-α-estradiol, and nordihydroguaiaretic acid extend mouse lifespan preferentially in males. Aging Cell, 13(2), 273-282. https://doi.org/10.1111/acel.12170
Zhang, X., Yuan, S., Wan, G., Yuan, M., Yang, G., Fu, H., Zhu, L., Zhang, J., Li, Y., Gao, D., Cui, X., Wang, Z., Xie, R., & Chen, Y. (2021). The effects of acarbose therapy on reductions of myocardial infarction and all-cause death in T2DM during 10-year multifactorial interventions (The Beijing Community Diabetes Study 24). Scientific Reports, 11(1), 1-12. https://doi.org/10.1038/s41598-021-84015-0
Weimer, S., Priebs, J., Kuhlow, D., Groth, M., Priebe, S., Mansfeld, J., Merry, T. L., Dubuis, S., Laube, B., Pfeiffer, A. F., Schulz, T. J., Guthke, R., Platzer, M., Zamboni, N., Zarse, K., & Ristow, M. (2014). D-Glucosamine supplementation extends life span of nematodes and of ageing mice. Nature Communications, 5(1), 1-12. https://doi.org/10.1038/ncomms4563
Asadi Shahmirzadi, A., Edgar, D., Liao, C. Y., Hsu, Y. M., Lucanic, M., Asadi Shahmirzadi, A., Wiley, C. D., Gan, G., Kim, D. E., Kasler, H. G., Kuehnemann, C., Kaplowitz, B., Bhaumik, D., Riley, R. R., Kennedy, B. K., & Lithgow, G. J. (2020). Alpha-Ketoglutarate, an Endogenous Metabolite, Extends Lifespan and Compresses Morbidity in Aging Mice. Cell metabolism, 32(3), 447–456.e6. https://doi.org/10.1016/j.cmet.2020.08.004
Eisenberg, T., Abdellatif, M., Schroeder, S., Primessnig, U., Stekovic, S., Pendl, T., Harger, A., Schipke, J., Zimmermann, A., Schmidt, A., Tong, M., Ruckenstuhl, C., Dammbrueck, C., Gross, A. S., Herbst, V., Magnes, C., Trausinger, G., Narath, S., Meinitzer, A., . . . Madeo, F. (2016). Cardioprotection and lifespan extension by the natural polyamine spermidine. Nature Medicine, 22(12), 1428. https://doi.org/10.1038/nm.4222
Bezlepkin, V. G., Sirota, N. P., & Gaziev, A. I. (1996). The prolongation of survival in mice by dietary antioxidants depends on their age by the start of feeding this diet. Mechanisms of Ageing and Development, 92(2-3), 227-234. https://doi.org/10.1016/S0047-6374(96)01840-4
Harrison, D. E., Strong, R., Reifsnyder, P., Kumar, N., Fernandez, E., Flurkey, K., Javors, M. A., Lopez-Cruzan, M., Macchiarini, F., Nelson, J. F., Markewych, A., Bitto, A., Sindler, A. L., Cortopassi, G., Kavanagh, K., Leng, L., Bucala, R., Rosenthal, N., Salmon, A., Stearns, T. M., … Miller, R. A. (2021). 17-a-estradiol late in life extends lifespan in aging UM-HET3 male mice; nicotinamide riboside and three other drugs do not affect lifespan in either sex. Aging cell, 20(5), e13328. https://doi.org/10.1111/acel.13328
Flurkey, K., Astle, C. M., & Harrison, D. E. (2010). Life Extension by Diet Restriction and N-Acetyl-L-Cysteine in Genetically Heterogeneous Mice. The Journals of Gerontology: Series A, 65A(12), 1275-1284. https://doi.org/10.1093/gerona/glq155
Anisimov V. N. (2003). Effects of exogenous melatonin–a review. Toxicologic pathology, 31(6), 589–603. https://doi.org/10.1080/01926230390257885
Mercken, E. M., Mitchell, S. J., Palacios, H. H., Mote, P. L., Gomes, A. P., Ward, T. M., Minor, R. K., Blouin, M., Schwab, M., Pollak, M., Zhang, Y., Yu, Y., Becker, K. G., Bohr, V. A., Ingram, D. K., Sinclair, D. A., Wolf, N. S., Spindler, S. R., Bernier, M., . . . De Cabo, R. (2013). Metformin improves healthspan and lifespan in mice. Nature Communications, 4(1), 1-9. https://doi.org/10.1038/ncomms3192
Strong, R., Miller, R. A., Antebi, A., Astle, C. M., Bogue, M., Denzel, M. S., Fernandez, E., Flurkey, K., Hamilton, K. L., Lamming, D. W., Javors, M. A., de Magalhães, J. P., Martinez, P. A., McCord, J. M., Miller, B. F., Müller, M., Nelson, J. F., Ndukum, J., Rainger, G. E., Richardson, A., … Harrison, D. E. (2016). Longer lifespan in male mice treated with a weakly estrogenic agonist, an antioxidant, an α-glucosidase inhibitor or a Nrf2-inducer. Aging cell, 15(5), 872–884. https://doi.org/10.1111/acel.12496
Yousefzadeh, M. J., Zhu, Y., McGowan, S. J., Angelini, L., Fuhrmann-Stroissnigg, H., Xu, M., Ling, Y. Y., Melos, K. I., Pirtskhalava, T., Inman, C. L., McGuckian, C., Wade, E. A., Kato, J. I., Grassi, D., Wentworth, M., Burd, C. E., Arriaga, E. A., Ladiges, W. L., Tchkonia, T., Kirkland, J. L., … Niedernhofer, L. J. (2018). Fisetin is a senotherapeutic that extends health and lifespan. EBioMedicine, 36, 18–28. https://doi.org/10.1016/j.ebiom.2018.09.015’
Zhang, H., Ryu, D., Wu, Y., Gariani, K., Wang, X., Luan, P., Ropelle, E. R., Lutolf, M. P., Aebersold, R., Schoonjans, K., Menzies, K. J., & Auwerx, J. (2016). NAD+ repletion improves mitochondrial and stem cell function and enhances life span in mice. Science. https://doi.org/aaf2693
Díaz-Casado, M. E., Quiles, J. L., Barriocanal-Casado, E., González-García, P., Battino, M., López, L. C., & Varela-López, A. (2019). The Paradox of Coenzyme Q10 in Aging. Nutrients, 11(9), 2221. https://doi.org/10.3390/nu11092221
Marcelo, C., Warwick, M., Marcelo, C., & Qayyum, R. (2019). The association between urinary genistein levels and mortality among adults in the United States. PloS one, 14(1), e0211368. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0211368
Strong, R., Miller, R. A., Astle, C. M., Floyd, R. A., Flurkey, K., Hensley, K. L., Javors, M. A., Leeuwenburgh, C., Nelson, J. F., Ongini, E., Nadon, N. L., Warner, H. R., & Harrison, D. E. (2008). Nordihydroguaiaretic acid and aspirin increase lifespan of genetically heterogeneous male mice. Aging Cell, 7(5), 641-650. https://doi.org/10.1111/j.1474-9726.2008.00414.x
McNeil, J. J., Nelson, M. R., Woods, R. L., Lockery, J. E., Wolfe, R., Reid, C. M., Kirpach, B., Shah, R. C., Ives, D. G., Storey, E., Ryan, J., Tonkin, A. M., Newman, A. B., Williamson, J. D., Margolis, K. L., Ernst, M. E., Abhayaratna, W. P., Stocks, N., Fitzgerald, S. M., Orchard, S. G., … ASPREE Investigator Group (2018). Effect of Aspirin on All-Cause Mortality in the Healthy Elderly. The New England journal of medicine, 379(16), 1519–1528. https://doi.org/10.1056/NEJMoa1803955
Banks, R., Speakman, J. R., & Selman, C. (2010). Vitamin E supplementation and mammalian lifespan. Molecular Nutrition & Food Research, 54(5), 719-725. https://doi.org/10.1002/mnfr.200900382
Lock, M., & Loblaw, A. (2005). Vitamin E might increase risk of death. Canadian Family Physician, 51(6), 829-831. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1479533/
Qi, Z., Ji, H., Le, M., Li, H., Wieland, A., Bauer, S., Liu, L., Wink, M., & Herr, I. (2021). Sulforaphane promotes C. elegans longevity and healthspan via DAF-16/DAF-2 insulin/IGF-1 signaling. Aging, 13(2), 1649–1670. https://doi.org/10.18632/aging.202512
Kumar, R., Gupta, K., Saharia, K., Pradhan, D., & Subramaniam, J. R. (2013). Withania somnifera root extract extends lifespan of Caenorhabditis elegans. Annals of neurosciences, 20(1), 13–16. https://doi.org/10.5214/ans.0972.7531.200106
Munasinghe, M., Almotayri, A., Thomas, J., Heydarian, D., Weerasinghe, M., & Jois, M. (2021). Cocoa improves age-associated health and extends lifespan in C. elegans. La Trobe. https://doi.org/10.26181/13519268.v2
Huang, C., Hsu, F., Wu, Y., Zhong, L., Tseng, M., Kuo, C., Hsu, A., Liang, S., & Chiou, S. (2015). Analysis of lifespan-promoting effect of garlic extract by an integrated metabolo-proteomics approach. The Journal of Nutritional Biochemistry, 26(8), 808-817. https://doi.org/10.1016/j.jnutbio.2015.02.010
Xu, T., Tao, M., Li, R., Xu, X., Pan, S., & Wu, T. (2022). Longevity-promoting properties of ginger extract in Caenorhabditis elegans via the insulin/IGF-1 signaling pathway. Food & function, 13(19), 9893–9903. https://doi.org/10.1039/d2fo01602h
Liao, V. H., Yu, C. W., Chu, Y. J., Li, W. H., Hsieh, Y. C., & Wang, T. T. (2011). Curcumin-mediated lifespan extension in Caenorhabditis elegans. Mechanisms of ageing and development, 132(10), 480–487. https://doi.org/10.1016/j.mad.2011.07.008
Strong, R., Miller, R. A., Astle, C. M., Baur, J. A., de Cabo, R., Fernandez, E., Guo, W., Javors, M., Kirkland, J. L., Nelson, J. F., Sinclair, D. A., Teter, B., Williams, D., Zaveri, N., Nadon, N. L., & Harrison, D. E. (2013). Evaluation of resveratrol, green tea extract, curcumin, oxaloacetic acid, and medium-chain triglyceride oil on life span of genetically heterogeneous mice. The journals of gerontology. Series A, Biological sciences and medical sciences, 68(1), 6–16. https://doi.org/10.1093/gerona/gls070
Hashemian, M., Poustchi, H., Murphy, G., Etemadi, A., Kamangar, F., Pourshams, A., Khoshnia, M., Gharavi, A., Brennan, P. J., Boffetta, P., Dawsey, S. M., Abnet, C. C., & Malekzadeh, R. (2019). Turmeric, Pepper, Cinnamon, and Saffron Consumption and Mortality. Journal of the American Heart Association, 8(18), e012240. https://doi.org/10.1161/JAHA.119.012240
Champigny, C. M., J. Cormier, R. P., Simard, C. J., St-Coeur, D., Fortin, S., & Pichaud, N. (2018). Omega-3 Monoacylglyceride Effects on Longevity, Mitochondrial Metabolism and Oxidative Stress: Insights from Drosophila melanogaster. Marine Drugs, 16(11). https://doi.org/10.3390/md16110453
Harris, W. S., Tintle, N. L., Imamura, F., Qian, F., Korat, A. V., Marklund, M., Djoussé, L., Bassett, J. K., Carmichael, P., Chen, Y., Hirakawa, Y., Küpers, L. K., Laguzzi, F., Lankinen, M., Murphy, R. A., Samieri, C., Senn, M. K., Shi, P., Virtanen, J. K., . . . Mozaffarian, D. (2021). Blood n-3 fatty acid levels and total and cause-specific mortality from 17 prospective studies. Nature Communications, 12(1), 1-9. https://doi.org/10.1038/s41467-021-22370-2
Bo, Y., Xu, H., Zhang, H., Zhang, J., Wan, Z., Zhao, X., & Yu, Z. (2022). Intakes of Folate, Vitamin B6, and Vitamin B12 in Relation to All-Cause and Cause-Specific Mortality: A National Population-Based Cohort. Nutrients, 14(11), 2253. https://doi.org/10.3390/nu14112253
Schwartz, A. G. (2022). Dehydroepiandrosterone, Cancer, and Aging. Aging and Disease, 13(2), 423-432. https://doi.org/10.14336/AD.2021.0913
Jung, H., & Shin, S. (2023). Association between Tomato and Lycopene Consumption and Risk of All-Cause and Cause-Specific Mortality: Korean Genome and Epidemiology Study Cohort. Molecular nutrition & food research, 67(4), e2200452. https://doi.org/10.1002/mnfr.202200452
Zhu, X., Cheang, I., Tang, Y., Shi, M., Zhu, Q., Gao, R., Liao, S., Yao, W., Zhou, Y., Zhang, H., & Li, X. (2023). Associations of Serum Carotenoids With Risk of All-Cause and Cardiovascular Mortality in Hypertensive Adults. Journal of the American Heart Association, 12(4), e027568. https://doi.org/10.1161/JAHA.122.027568
Garland, C. F., Kim, J. J., Mohr, S. B., Gorham, E. D., Grant, W. B., Giovannucci, E. L., Baggerly, L., Hofflich, H., Ramsdell, J. W., Zeng, K., & Heaney, R. P. (2014). Meta-analysis of All-Cause Mortality According to Serum 25-Hydroxyvitamin D. American Journal of Public Health, 104(8), e43. https://doi.org/10.2105/AJPH.2014.302034
Zarse, K., Terao, T., Tian, J., Iwata, N., Ishii, N., & Ristow, M. (2011). Low-dose lithium uptake promotes longevity in humans and metazoans. European Journal of Nutrition, 50(5), 387-389. https://doi.org/10.1007/s00394-011-0171-x
Kwon, J., Lee, H. S., Park, G., Yang, J., Kim, M., & Lee, W. (2023). Dietary Zinc Intake and All-Cause and Cardiovascular Mortality in Korean Middle-Aged and Older Adults. Nutrients, 15(2). https://doi.org/10.3390/nu15020358
Xu, D., Xu, Y., Zhang, B., Wang, Y., Han, L., Sun, J., & Sun, H. (2023). Higher dietary intake of aromatic amino acids was associated with lower risk of cardiovascular disease mortality in adult participants in NHANES III. Nutrition Research, 113, 39-48. https://doi.org/10.1016/j.nutres.2023.03.004
Inoue, K., Leung, A. M., Sugiyama, T., Tsujimoto, T., Makita, N., Nangaku, M., & Ritz, B. R. (2018). Urinary Iodine Concentration and Mortality Among U.S. Adults. Thyroid : official journal of the American Thyroid Association, 28(7), 913–920. https://doi.org/10.1089/thy.2018.0034
Zwakenberg, S. R., Den Braver, N. R., Engelen, A. I., Feskens, E. J., Vermeer, C., Boer, J. M., Verschuren, W. M., Van der Schouw, Y. T., & Beulens, J. W. (2017). Vitamin K intake and all-cause and cause specific mortality. Clinical Nutrition, 36(5), 1294-1300. https://doi.org/10.1016/j.clnu.2016.08.017
Comments