Dr. Steele กล่าวถึงหลักฐานที่สนับสนุนยา ที่อาจยืดอายุขัยได้ 5 ชนิด แต่บอกว่าเราจำเป็นต้องรอดูว่ายาเหล่านั้นปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสำหรับมนุษย์หรือไม่
สารต่อต้านวัยชรา 5 อันดับแรก ที่ Dr. Andrew Steele ระบุว่าน่าสนใจมากที่สุด:
ราปามัยซิน (Rapamycin) ช่วยยืดอายุขัยหนูได้ประมาณ 10% ในขณะที่ยาที่คล้ายกัน คือ RTB101 ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับการเพิ่มภูมิคุ้มกันในผู้สูงอายุ จากข้อมูลทางคลินิก
สารกลุ่ม Senolytics ซึ่งพุ่งเป้าหมายไปที่เซลล์ที่เสื่อมสภาพ/เซลล์ขรา และลดอายุเซลล์ สามารถยืดอายุของหนูได้หลายเดือน หรือเท่ากับอายุคน 2 - 3 ปี
เมตฟอร์มิน (Metformin) ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายกับโรคเบาหวาน มีความเกี่ยวข้องกับการยืดอายุขัยของผู้ป่วยโรคเบาหวานออกไป 2 - 3 เดือน เมื่อเทียบกับผู้ใหญ่ที่ไม่ได้รับการรักษาซึ่งไม่มีโรคเบาหวาน ซึ่งค่อนข้างสวนทางกับผลกระทบที่ทำให้อายุสั้นลงตามปกติของโรคเบาหวาน
ทอรีน (Taurine) ซึ่งเป็นสารที่ใช้สร้างโปรตีนที่มีธาตุกำมะถันด้วย (กรดอะมิโน) ที่ช่วยสนับสนุนการเจริญเติบโตของเส้นประสาท ความเสื่อมถอยในร่างกายของเราตามอายุ และการเสริมสามารถยืดอายุหนูได้ 10%
สแตติน (Statin) ซึ่งเป็นยาลดคอเลสเตอรอล มีความเชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่ลดลงของโรคหัวใจและอัตราการเสียชีวิตโดยรวมที่ลดลงในมนุษย์
ดร. แอนดรูว์ สตีล มีพื้นฐานอาชีพที่น่าสนใจ โดยเริ่มจากปริญญาเอกสาขาฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด และก้าวไปสู่สาขาชีววิทยาคอมพิวเตอร์และการวิจัยด้านอายุ จากการวิจัยเรื่องความชราในปัจจุบัน Dr. Steele ได้รวบรวมรายชื่อยาที่เขาเชื่อ ว่าเป็นยาต่อต้านความแก่ชราที่มีแนวโน้มมากที่สุด 5 อันดับแรกในปัจจุบัน ซึ่งทั้งหมดสามารถดูได้จาก YouTube
“คุณรู้ไหมว่า มียาที่สามารถชะลอกระบวนการชราได้” ดร. สตีลถาม
#1 ราปามัยซินยืดอายุขัยหนูและช่วยปรับปรุงภูมิคุ้มกันในผู้สูงอายุ
ราปามัยซิน (Rapamycin) ถูกค้นพบครั้งแรกบนเกาะ Rapa Nui (เกาะอีสเตอร์) และได้รับความนิยมทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง ในคลินิก ราปามัยซินใช้เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ หลีกเลี่ยงการปฏิเสธเนื้อเยื่อ เป็นสารที่ใช้เคลือบโลหะเล็กๆ หรืออุปกรณ์คล้ายท่อผ้าที่ใช้เปิดหลอดเลือดที่อุดตันหรือตีบตัน (ขดลวด) และเป็นการรักษาโรคมะเร็ง อย่างไรก็ตาม ที่น่าสนใจมากขึ้น คือ ในปี 2009 เมื่อนักวิทยาศาสตร์พบว่า หนูในห้องทดลองสามารถยืดอายุขัยได้ประมาณ 10% (R)
ข้อมูลจากการทดลองในมนุษย์ มีผู้เข้าร่วม 652 คน แสดงให้เห็นว่า การใช้ยาที่คล้ายกัน RTB101 มีความสัมพันธ์กับภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้นในผู้สูงอายุ (R) ยิ่งไปกว่านั้น การศึกษาเดียวกันยังพบว่า ผลข้างเคียงที่ร้ายแรงจากการรักษานี้มีน้อยมาก จากประเด็นดังกล่าว หลักฐานที่เราได้รับจากการศึกษาราปามัยซินส่วนใหญ่เป็นไปในทางบวก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความปลอดภัยและประโยชน์ในการต่อต้านความแก่ชราที่อาจเกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลของ Dr. Steele เรายังไม่มีหลักฐานที่สรุปได้ว่า rapamycin เป็นยาต่อต้านวัยชรา ที่มีประสิทธิภาพ เขากล่าวว่า เราต้องการการทดลองในมนุษย์ที่ใหญ่กว่า โดยเปรียบเทียบผู้ที่รับประทานราปามัยซินกับผู้ที่ไม่ได้ เพื่อบอกเราว่า ราปามัยซินทำให้สุขภาพโดยทั่วไปดีขึ้นในผู้สูงอายุหรือไม่ Dr. Steele แนะนำว่า เราควรรอผลการทดลองในมนุษย์ที่เป็นข้อสรุปมากขึ้น จากการศึกษาราปามัยซินในอุดมคติ ก่อนที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับประโยชน์ต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้
#2 สาร Senolytics กำจัดเซลล์ที่เสื่อมสภาพและปล่อยสารที่เป็นพิษ เพื่อยืดอายุการใช้งานในหนู
เมื่อเราอายุมากขึ้น เซลล์เสื่อมสภาพจะสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อทั่วร่างกายของเรา เซลล์เสื่อมสภาพพวกนี้เป็นเซลล์ที่มีอายุมากและมีการทำงานที่ผิดปกติ ซึ่งจะปล่อยสารพิษออกมาเป็นโมเลกุลที่ทำให้เกิดการอักเสบ และการสะสมเพิ่มจำนวนพวกนี้ จะทำให้เร่งกระบวนการชราได้ สิ่งที่น่าสนใจคือ สาร Senolytics (R) เช่น dasatinib ซึ่งเป็นยาเคมีบำบัด และ quercetin ซึ่งเป็นฟลาโวนอล ที่พบในผักและผลไม้ สามารถใช้เพื่อกำจัดเซลล์ที่เสื่อมสภาพนี้ได้ สาร senolytics เป็นหนึ่งในยาต่อต้านวัยชรา ที่มีศักยภาพมากที่สุดตามข้อมูลของ Dr. Steele
ในการศึกษาปี 2018 (R) นักวิทยาศาสตร์ได้สำรวจผลของการใช้ยา Dasatinib ร่วมกับ Quercetin กับหนูที่มีอายุ (เมื่อเทียบกับมนุษย์ประมาณ 69 ปี) สิ่งที่น่าสนใจคือ หนูเหล่านี้มีอายุยืนยาวขี้นกว่า 2-3 เดือน ซึ่งเทียบเท่ากับ 2-3 ปีในมนุษย์ สิ่งสำคัญที่สุดคือ หนูที่ได้รับสาร senolytics จะมีสุขภาพที่ดีขึ้นโดยเกิดอาการที่เกี่ยวกับอายุ ล่าช้าออกไป เช่น มะเร็ง
นอกจากนี้ หนูยังสามารถวิ่งได้ไกลขึ้นและเร็วขึ้น ซึ่งเดิมเป็นหนูที่มีความอ่อนแอ เชื่องช้า ยิ่งไปกว่านั้น หนูที่ได้รับสาร senolytics ดูมีสุขภาพดีกว่าหนู ที่ไม่ได้รับการรักษาด้วย senolytics ผลลัพธ์เหล่านี้ให้หลักฐานเบื้องต้นเกี่ยวกับคุณประโยชน์ในการต่อต้านความแก่ชราของสาร senolytics: dasatinib และ quercetin จากการศึกษาเบื้องต้น Dr. Steele กล่าวว่า ยาต่อต้านวัยชราประเภทนี้ อาจคุ้มค่าที่จะช่วยให้ตื่นเต้นเล็กน้อย
The most exciting REAL anti-aging drugs | YouTube - หนูสูงอายุที่ได้รับการรักษาด้วยดาซาตินิบและเคอร์เซตินจะดูมีสุขภาพที่ดีมากกว่าหนูที่ไม่ได้รับยา หนูอายุที่มีสุขภาพดีกว่าทางด้านซ้าย ได้รับการรักษาด้วยดาซาตินิบและเควอซิติน ในขณะที่หนูที่ไม่เรียบร้อยทางขวาไม่ได้รักษา
#3 เมตฟอร์มินช่วยทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีอายุยืนยาวขึ้น
ยาต่อต้านวัยชรา ที่มีแนวโน้มมากที่สุดอันดับสามของ Dr. Steel คือยารักษาโรคเบาหวานและช่วยเพิ่มอายุขัย เมตฟอร์มิน (Metformin) ตามแหล่งข้อมูลบางแห่ง เมตฟอร์มินอาจทำอะไรได้มากกว่าการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้คน
การศึกษาที่ตรวจสอบเวชระเบียนของสหราชอาณาจักรพบว่า การใช้ยาเมตฟอร์มินสัมพันธ์กับการยืดอายุขัยของผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ไม่กี่เดือน นี่เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากผู้ป่วยโรคเบาหวานมีปัญหาสุขภาพอื่นๆ มากมายที่ส่งผลให้อัตราการรอดชีวิตลดลง
จากบันทึกอายุขัยจากสหราชอาณาจักร จึงมีคำถามว่า เมตฟอร์มินช่วยแก้ปัญหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอายุ เช่น มะเร็งได้หรือไม่ เพื่อตอบคำถามนี้ นักวิจัยได้ออกแบบการทดลองแบบสุ่มในมนุษย์ ที่เรียกว่า TAME (Targeting Aging with Metformin) โดยหวังว่า จะรับผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีจำนวน 3,000 คน
นักวิจัยที่ทำการศึกษา วางแผนที่จะสุ่มให้เมตฟอร์มินแก่ผู้เข้าร่วมการศึกษาครึ่งหนึ่ง โดยมีเป้าหมายเพื่อค้นหาว่า ผู้ที่รับประทานเมตฟอร์มินมีอายุยืนยาวขึ้นหรือไม่ น่าเสียดายที่การทดลอง TAME พร้อมที่จะดำเนินการมา 2-3ปีแล้ว แต่นักวิจัยไม่สามารถหาเงินทุนมาดำเนินการได้ หวังว่าในที่สุดการศึกษา TAME จะได้รับเงินทุนเพื่อดำเนินการทดลองยาต้านความชราเป็นครั้งแรก
#4 ระดับทอรีนที่ลดลงตามอายุ และการรับมือกับการลดลงนี้ด้วยการเสริมทอรีน อาจช่วยให้อายุยืนยาวขึ้น
ยาต่อต้านวัยชรา ที่มีศักยภาพอีกชนิดหนึ่งที่ Dr. Steele กล่าวว่าที่เขามั่นใจคือ ทอรีน ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่มีกำมะถันนี้ พบได้ในเครื่องดื่มชูกำลังหลายชนิด และการศึกษาในปี 2023 (R) พบว่า การเสริมกรดอะมิโนดังกล่าว ช่วยชะลอความแก่ในหนูและลิงได้
นอกเหนือจากการค้นพบนี้แล้ว นักวิจัยยังแสดงให้เห็นว่า ทอรีนช่วยยืดอายุหนูได้ประมาณ 10% (R) ยิ่งไปกว่านั้น หลังจากให้ทอรีนแก่ลิงแล้ว นักวิทยาศาสตร์พบว่า ลิงมีสุขภาพดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ต้องใช้เวลาอีก 2-3 ปีก่อนที่นักวิจัยจะพบว่า ลิงที่เสริมทอรีนจะมีอายุยืนยาวขึ้นคล้ายกับหนูหรือไม่
การศึกษาทอรีนมีมานานกว่าทศวรรษ และมีผู้เขียนทำวิจัย 56 คน เนื่องจากงานทั้งหมดที่ต้องทำ เพื่อทดสอบทอรีน Dr. Steele จึงหวังว่า จะมีนักวิทยาศาสตร์ที่จะทำการทดลองในมนุษย์และดูว่า กรดอะมิโนนี้ จะช่วยชะลอความชราของมนุษย์ได้หรือไม่
The most exciting REAL anti-aging drugs | YouTube - การเสริมด้วยทอรีนช่วยยืดอายุขัยเฉลี่ยของหนูได้ประมาณ 10% ทั้งหนูตัวผู้ (กราฟด้านซ้าย) และหนูตัวเมีย (กราฟด้านขวา) แสดงผลเป็นค่าเฉลี่ยฐานอายุขัยเพิ่มขึ้นประมาณ 10% ด้วยการเสริมทอรีน
#5 สแตตินช่วยลดความเสี่ยงของคอเลสเตอรอลและโรคหัวใจ และสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุที่ลดลง
สแตตินเป็นยา ที่จำหน่ายกันแพร่หลาย ซึ่งใช้เพื่อลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด และป้องกันปัญหาต่างๆ เช่น หัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมอง Dr. Steele เชื่อว่าสามารถใช้เป็นยาต่อต้านวัยชราได้
เหตุผลแรกที่ Steele ยืนยันก็คือว่า การทำงานในการลดคอเลสเตอรอลตามปกติของสแตตินสามารถอธิบายได้ว่า มีคุณสมบัติในการต่อต้านวัยชราได้
เมื่อเราอายุมากขึ้น เราทุกคนจะมีไขมันสะสมไว้ในผนังหลอดเลือด ซึ่งเป็นกระบวนการที่ ดร. สตีลกล่าวว่า อาจเริ่มต้นก่อนที่เราจะเกิดด้วยซ้ำ ในขณะที่หลายคนคิดว่า หลอดเลือดแดงที่มีคราบพลาก (atherosclerotic plaque) และอาการหัวใจวายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุ นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษากระบวนการของโรค ได้ค้นพบโรคหลอดเลือดหัวใจในระยะเริ่มแรก จากการสะสมไขมันเหล่านี้ในหลอดเลือดของวัยรุ่น แม้ว่าวัยรุ่นส่วนใหญ่และแม้กระทั่งผู้ที่มีอายุ 50 ปีจะไม่ได้สะสมคราบนี้ในหลอดเลือดมากพอที่จะกระตุ้นให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของหัวใจ แต่ในที่สุด การสะสมเหล่านี้อาจลุกลามใหญ่โตมากขึ้น จนทำให้เกิดปัญหาที่นำไปสู่ความตายได้
สำหรับความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ประมาณหนึ่งในสามของการเสียชีวิตในประเทศร่ำรวยและทั่วโลกเกิดจากการสะสมของคราบพลากในหลอดเลือด ซึ่งจะทำให้การสะสมของไขมันเป็นกระบวนการสะสมที่อาจมีส่วนทำให้เกิดความชราตามข้อมูลของ Dr. Steele ดังนั้น การใช้ยากลุ่มสแตตินโดยการลดระดับคอเลสเตอรอลลง อาจชะลอความชราได้
เหตุผลที่สองที่ Dr. Steele เชื่อว่า สแตตินอาจทำหน้าที่เป็นยาต่อต้านวัยชรา ก็เนื่องมาจาก มันอาจมีผลในการต่อต้านความแก่ชราอื่นๆ ตัวอย่างเช่น การที่มีอายุมากขึ้นส่งผลให้เซลล์ภูมิคุ้มกันที่เรียกว่านิวโทรฟิลสูญเสียความสามารถในการนำทางไปยังสิ่งแปลกปลอมต่างๆ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส และเศษขยะ (เชื้อโรค) ที่แปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย แทนที่จะเคลื่อนที่ไปหาเชื้อโรค พวกมันจะเคลื่อนที่ไปแบบสุ่มๆ ทำให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์ ซึ่งอาจเร่งการแก่ชราได้ ซึ่ง Dr. Steele กล่าวว่า นักวิจัยพบว่า statin สามารถฟื้นฟูการรับรู้ทิศทางของนิวโทรฟิลได้อย่างน่าประหลาดใจ
นอกจากนี้ สแตตินอาจช่วยเพิ่มความยาวของเทโลเมียร์ ตามที่ Dr. Steele กล่าว เทโลเมียร์จะสั้นลงจากการแบ่งเซลล์แต่ละเซลล์ จนทำให้พวกมันสั้นลงเรื่อยๆ ตามอายุ ทำให้นักวิจัยบางคนมองว่า การทำให้เทโลเมียร์สั้นลงเป็นตัวการที่แก่ชรา (R) ด้วยการเพิ่มความยาวเทโลเมียร์ สแตตินอาจช่วยบรรเทากระบวนการแก่ชราได้
Dr. Steele ยังเน้นย้ำการรีวิวอย่างเป็นระบบ (R) ของยากลุ่มสแตติน 54 รายการที่เชื่อมโยงการใช้ยาเหล่านี้ กับความเสี่ยงที่ลดลงประมาณ 25% ของการเสียชีวิตจากสาเหตุใดๆ เขากล่าวต่อไปว่า อัตราการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุที่ลดลงจากยากลุ่มสแตตินอาจสอดคล้องกับอายุขัยที่มีสุขภาพดีเพิ่มขึ้นอีก 2-3 ปี
จากข้อมูลของ Dr. Steele แม้ว่าความเสี่ยงที่ลดลงของการเสียชีวิตจากสาเหตุใดก็ตาม อาจเชื่อมโยงกับการลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ แต่เราจำเป็นต้องมีการศึกษาในอนาคตเพื่อช่วยพิจารณาว่า statins มีฤทธิ์ในการต่อต้านวัยโดยทั่วไปมากกว่าหรือไม่
เราอาจจะมียาบำบัดเพื่อชะลอวัยตัวแรกอยู่แล้วก็ได้
ผู้ที่สนใจยาอายุวัฒนะ อาจสงสัยว่า ถึงเวลาที่จะเริ่มรับประทานยาชะลอวัยแล้วหรือยัง จากข้อมูลของ Dr. Steele มียาหลายชนิดที่กำลังทำการทดสอบในห้องปฏิบัติการกับเซลล์ในจานเพาะเลี้ยง หรือในสัตว์ทดลอง เช่น หนู เรายังต้องมีการทดลองในมนุษย์เพิ่มเติมเพื่อตรวจสอบความปลอดภัยและประสิทธิภาพสำหรับการใช้งานของมนุษย์
มียาต่อต้านวัยชรา ที่มีศักยภาพหลายร้อยตัวที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบ ดังนั้น Dr. Steele จึงแนะนำเกณฑ์เพื่อระบุว่า ยาตัวใดมีศักยภาพมากที่สุด
เกณฑ์ข้อแรกเกี่ยวข้องกับการพิจารณาว่า สามารถยืดอายุการใช้งานของหนูได้หรือไม่ ตามแนวทางเหล่านี้ Interventions Testing Program จะทดสอบอย่างเข้มงวดว่า ยาใหม่ภายใต้การตรวจสอบ จะช่วยเพิ่มอายุขัยในหนูได้หรือไม่
เกณฑ์ข้อที่ 2 หากไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับอายุขัยของหนู อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องค้นหาก็คือ มีข้อมูลเชิงบวกสำหรับการต่อต้านความชราในสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่น แมลงวัน หนอน และยีสต์หรือไม่
เกณฑ์สุดท้ายคือ มีผลทางอ้อมใดๆ ในมนุษย์หรือไม่ เช่น ความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตที่ลดลง ที่เกี่ยวข้องกับการกินยา ข้อผิดพลาดในการใช้ข้อมูลของมนุษย์คือการศึกษาส่วนใหญ่ประเมินผลกระทบของยาที่ใช้ผู้เข้าร่วมที่มีอาการอยู่แล้ว เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต
การใช้เกณฑ์เหล่านี้ อาจช่วยระบุยาชะลอวัย ที่สนใจและติดตามการวิจัยที่กำลังดำเนินอยู่ของยาได้ ผลลัพธ์ที่คาดหวังในอนาคตอาจพัฒนาขึ้นสำหรับการบำบัดบางอย่าง และหากเป็นเช่นนั้น สักวันหนึ่ง เราทุกคนก็จะมียาต่อต้านวัยที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพไว้ใช้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการทดลองในมนุษย์สามารถยืดเยื้อไปได้หลายทศวรรษ จึงอาจต้องใช้เวลาสักระยะก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้
Source
References
Harrison DE, Strong R, Sharp ZD, Nelson JF, Astle CM, Flurkey K, Nadon NL, Wilkinson JE, Frenkel K, Carter CS, Pahor M, Javors MA, Fernandez E, Miller RA. Rapamycin fed late in life extends lifespan in genetically heterogeneous mice. Nature. 2009 Jul 16;460(7253):392-5. doi: 10.1038/nature08221. Epub 2009 Jul 8. PMID: 19587680; PMCID: PMC2786175.
Mannick JB, Teo G, Bernardo P, Quinn D, Russell K, Klickstein L, Marshall W, Shergill S. Targeting the biology of ageing with mTOR inhibitors to improve immune function in older adults: phase 2b and phase 3 randomised trials. Lancet Healthy Longev. 2021 May;2(5):e250-e262. doi: 10.1016/S2666-7568(21)00062-3. Epub 2021 May 6. PMID: 33977284; PMCID: PMC8102040.
Singh P, Gollapalli K, Mangiola S, Schranner D, Yusuf MA, Chamoli M, Shi SL, Lopes Bastos B, Nair T, Riermeier A, Vayndorf EM, Wu JZ, Nilakhe A, Nguyen CQ, Muir M, Kiflezghi MG, Foulger A, Junker A, Devine J, Sharan K, Chinta SJ, Rajput S, Rane A, Baumert P, Schönfelder M, Iavarone F, di Lorenzo G, Kumari S, Gupta A, Sarkar R, Khyriem C, Chawla AS, Sharma A, Sarper N, Chattopadhyay N, Biswal BK, Settembre C, Nagarajan P, Targoff KL, Picard M, Gupta S, Velagapudi V, Papenfuss AT, Kaya A, Ferreira MG, Kennedy BK, Andersen JK, Lithgow GJ, Ali AM, Mukhopadhyay A, Palotie A, Kastenmüller G, Kaeberlein M, Wackerhage H, Pal B, Yadav VK. Taurine deficiency as a driver of aging. Science. 2023 Jun 9;380(6649):eabn9257. doi: 10.1126/science.abn9257. Epub 2023 Jun 9. PMID: 37289866; PMCID: PMC10630957.
Nowak MM, Niemczyk M, Florczyk M, Kurzyna M, Pączek L. Effect of Statins on All-Cause Mortality in Adults: A Systematic Review and Meta-Analysis of Propensity Score-Matched Studies. J Clin Med. 2022 Sep 25;11(19):5643. doi: 10.3390/jcm11195643. PMID: 36233511; PMCID: PMC9572734.
Xu M, Pirtskhalava T, Farr JN, Weigand BM, Palmer AK, Weivoda MM, Inman CL, Ogrodnik MB, Hachfeld CM, Fraser DG, Onken JL, Johnson KO, Verzosa GC, Langhi LGP, Weigl M, Giorgadze N, LeBrasseur NK, Miller JD, Jurk D, Singh RJ, Allison DB, Ejima K, Hubbard GB, Ikeno Y, Cubro H, Garovic VD, Hou X, Weroha SJ, Robbins PD, Niedernhofer LJ, Khosla S, Tchkonia T, Kirkland JL. Senolytics improve physical function and increase lifespan in old age. Nat Med. 2018 Aug;24(8):1246-1256. doi: 10.1038/s41591-018-0092-9. Epub 2018 Jul 9. PMID: 29988130; PMCID: PMC6082705.
Zhu Y, Liu X, Ding X, Wang F, Geng X. Telomere and its role in the aging pathways: telomere shortening, cell senescence and mitochondria dysfunction. Biogerontology. 2019 Feb;20(1):1-16. doi: 10.1007/s10522-018-9769-1. Epub 2018 Sep 18. PMID: 30229407.
Comentarios