ทีมวิจัยจาก Kyoto Universityพบว่า สเปิร์มมิดีน (Spermidine) สามารถยับยั้งการเติบโตของมะเร็งในหนูได้ โดยเพิ่มการทำงานให้ไมโตคอนเดรียของเซลล์ภูมิคุ้มกันต้านมะเร็ง
สเปิร์มมิดีน เป็นสารที่พบได้ในสิ่งมีชีวิตหลายชนิด และสามารถต้านมะเร็งในสัตว์ทดลองได้ ที่น่าสนใจก็คือ ฤทธิ์ในการต้านมะเร็ง และสเปิร์มมิดีนยังแสดงให้เห็นว่า สามารถยืดอายุขัยในหนูทดลองได้ (*) สำหรับกลไกในการต้านมะเร็งของสเปิร์มมิดีนยังไม่ทราบชัดเจน
งานวิจัยที่ตึพิมพ์ในวารสาร Science, ดร.ฮอนโจและทีมงานจาก Kyoto University ได้แสดงให้เห็นว่า การให้กินสเปิร์มมิดีนจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเซลล์ภูมิคุ้มกันต้านมะเร็ง เมื่อให้คู่กับการฉีดสารแอนติบอดีต้านมะเร็ง (Anticancer antibody injections) (*)
เมื่ออายุมากขึ้น, เซลล์ภูมิคุ้มกันจะมีระดับของสเปิร์มิดีนลดน้อยลง และการเพิ่มระดับของสเปิร์มมิดีนให้กับ CD8+ T immune cells (ที่ต้านมะเร็ง) จะช่วยเพิ่มการทำงานของไมโตคอนเดรีย ทำให้พลังงาน ATP เพิ่มมากขึ้น การเพิ่มการทำงานของ CD8+ T immune cells เป็นหลักฐานที่แสดงถึง ศักยภาพในการต้านมะเร็งของสเปิร์มมิดีน
การกินสเปิร์มมิดีนช่วยกระตุ้นเซลล์ภูมิคุ้มกันต้านมะเร็ง
เพื่อจะยืนยันว่า เมื่อเราอายุมากขึ้น, ระดับของสเปิร์มมิดีน (Spermidine) จะลดน้อยลงในเซลล์ภูมิคุ้นกันต้านมะเร็ง ดร.ฮอนโจและคณะ ได้ตรวจหาระดับของสเปิร์มิเดีนในเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด CD8+ T cell (เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาว "นักฆ่า" ที่จะกำจัดเซลล์ที่เป็นโรค เช่น เซลล์มะเร็ง) จากหนูทดลอง ทั้งหนูหนุ่มและหนูแก่ ทีมวิจัยได้เลือกวิเคราะห์ CD8+ T cells เพราะว่า มันเป็นเซลล์กลุ่มแรก ที่เข้าไปกลืนกินและทำลายเซลล์มะเร็ง และทีมวิจัยพบว่า CD8+ T cells ของหนูแก่จะมีปริมาณสเปิร์มมิดีนเพียง 50% ของหนูหนุ่ม การค้นพบนี้บ่งบอกว่า ระดับสเปิร์มมิดีนจะลดลงมากในเซลล์ภูมิคุ้มกันต้านมะเร็งที่มีอายุ
Al-Habsi et al., 2022 | Science (*) - หนูแก่จะแสดงให้เห็นว่ามีสเปิร์มมิดีนในเซลล์ภูมิคุ้มกันต้านมะเร็งเพียงครึ่งหนึ่งของหนูหนุ่ม สเปิร์มมิดีนทั้งหมด (Total SPD) ใน CD8+ T cell ของหนูแก่ (สีดำ) จะมีเพียง 1 ใน 4 ของที่พบในหนูหนุ่ม (สีขาว, กราฟซ้ายมือ) สเปิร์มมิดีนอิสระ (Free SPD) ที่ไม่ได้ผูกติดกับโปรตีนใดๆ สําหรับหนูแก่จะพบประมาณครึ่งหนึ่งของหนูหนุ่ม (กราฟขวามือ)
ดร.ฮอนโจและทีมงาน พยายามค้นหาว่า การกินสเปิร์มมิดีนอาจกระตุ้นการทํางานของเซลล์ CD8+ T ได้อย่างไร ดังนั้นพวกเขาจึงได้ตรวจสอบกระบวนการเผาผลาญ โดยวิเคราะห์เส้นทางการผลิตพลังงานของเซลล์ ทีมวิจัยพบว่า สเปิร์มมิดีนจะจับกับโปรตีนในไมโตคอนเดรียที่เรียกว่า MTF (Mitochondria trifunctional protein) พร้อมทั้งกระตุ้น MTF ด้วย MTF จะช่วยเผาผลาญไขมันเพื่อผลิตพลังงาน ATP
ดร.ฮอนโจและทีมงานพบว่า การกินสเปิร์มมิดีนจะช่วยผลิต ATP ได้เกือบเท่าตัว ผ่านทางการจับตัวระหว่างสเปิร์มมิดีนและ MTF การค้นพบนี้ บ่งบอกว่า สเปิร์มมิดีนจะช่วยเพิ่มความสามารถในการต้านมะเร็งของเซลล์ CD8+ T cell ด้วยการกระตุ้นการทำงานของไมโตคอนเดรีย
การให้สเปิร์มมิดีนจะช่วยยับยั้งการเติบโตของมะเร็ง
ทีมวิจัยได้ฉีดเซลล์มะเร็งของหนู ร่วมกับสเปิร์มมิดีนและ Anticancer antibody เข้าไปในหนูทดลอง เพื่อดูว่า สเปิร์มมิดีนจะยับยั้งการเติบโตของมะเร็งได้หรือไม่ คณะวิจัยได้เลือกการบำบัดด้วยภูมิคุ้มกันต้านมะเร็ง (anticancer antibody therapy) เพราะว่า antibody จะรับรู้และจับกับเซลล์มะเร็งแล้วเรียกให้เซลล์ CD8+ T cell ที่เป็นเซลล์ "นักฆ่า" ให้เข้ามากําจัด
แต่เนื่องจากการไม่ตอบสนองต่อภูมิคุ้มกันบําบัดนี้ ก่อให้เกิดปัญหากับบางคนที่เป็นมะเร็ง ทีมวิจัยจึงตั้งคําถามว่า การมีสเปิร์มมิดีนไม่เพียงพอ อาจจะเป็นปัจจัยสําคัญที่ทำให้ประสิทธิภาพในการรักษาด้วยวิธีนี้ไม่ได้ผล หรือไม่
ในขณะที่แอนติบอดีที่ต้านมะเร็ง จะช่วยลดปริมาณเนื้องอกลงอย่างมีนัยสําคัญในช่วงเวลาประมาณ 20 วัน, การเพิ่มสเปิร์มมิดีนจะขัดขวางการเจริญเติบโตของเนื้องอกมากขึ้น ผลการวิจัยนี้บ่งชี้ว่า สเปิร์มมิดีนจะช่วยเสริมฤทธิ์ของการรักษาด้วยวิธี anticancer antibody โดยการเพิ่มการทำงานของไมโตคอนเดรียของเซลล์ภูมิคุ้นกันต้านมะเร็ง
Al-Habsi et al., 2022 | Science (*) - สเปิร์มมิดีนจะเพิ่มฤทธิ์ในการต้านมะเร็งของการรักษาด้วยภูมิต้านทาน (PD-L1 mAb) ประมาณ 20 วันหลังจากที่ฉีดเซลล์มะเร็งเข้าไปในหนู, ประสิทธิภาพของการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันที่เพิ่มขึ้นโดยสเปิร์มมิดีน (วงกลมสีแดง) เมื่อเทียบกับรักษาด้วยภูมิคุ้มกันเพียงอย่างเดียว (วงกลมสีดำ) วงกลมสีขาวบ่งบอกถึงการเติบโตของเซลล์มะเร็งที่ไม่ได้รับการรักษาใดๆ
การศึกษาให้หลักฐานว่า สเปิร์มมิดีนอาจจะช่วยเพิ่มผลของการรักษาด้วย anticancer antibody โดยเพิ่มการสร้างพลังงานภายในเซลล์ภูมิคุ้มกันต้านมะเร็ง CD8+ T cell
ยังมีงานวิจัยชิ้นอื่น ที่บ่งบอกว่า NMN ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษามะเร็งได้ (*) การศึกษาในอนาคตอาจจะดูว่า NMN และ spermidine จะเสริมฤทธิ์ซึ่งกันกัน ช่วยเพิ่มการทํางานของเซลล์ CD8 + T ได้หรือไม่ เนื่องจาก NMN เป็นที่รู้กันดีว่า ช่วยเพิ่มระดับ ATP ได้ด้วย การค้นพบเหล่านี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกันได้หรือไม่ ต้องรองานวิจัยอื่นสนับสนุนต่อไป
อ้างอิง
Al-Habsi M, Chamoto K, Matsumoto K, Nomura N, Zhang B, Sugiura Y, Sonomura K, Maharani A, Nakajima Y, Wu Y, Nomura Y, Menzies R, Tajima M, Kitaoka K, Haku Y, Delghandi S, Yurimoto K, Matsuda F, Iwata S, Ogura T, Fagarasan S, Honjo T. Spermidine activates mitochondrial trifunctional protein and improves antitumor immunity in mice. Science. 2022 Oct 28;378(6618):eabj3510. doi: 10.1126/science.abj3510. Epub 2022 Oct 28. PMID: 36302005.
#drbunlue #NMP #NMN #NAD #ChapaGroupAndMadePhuwiang #ย้อนวัยไปกับ_drbunlue #antiaging #ชะลอวัย #สุขภาพดี #tiktokสุขภาพ #ลืมป่วย #healthy #healthycare #healthyfood #ดูแลสุขภาพ #มณีแดง #RedGem #สเปิร์มมิดีน #Spermidine #Anticancer #AnticancerAntibody
Comments